PhenoBL เป็นแนวการจัดการเรียนรู้โดยนำหัวข้อหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีจุดเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันและชุมชนของผู้เรียน มาเป็นหน่วยการเรียนรู้ในลักษณะของโครงงาน ที่เน้นให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มโดยเปลี่ยนกระบวนทัศน์การมองครูจากการมองเป็นผู้เชี่ยวชาญมาเป็นมองครูเป็นหนึ่งในกระบวนการ และให้บทบาทนักเรียนรับผิดชอบการเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยมีเนื้อหาบูรณาการรวมกันครอบคลุมหลายวิชา ซึ่งแตกต่างกับแนวการจัดการเรียนรู้โดยทั่วไปที่จะแยกเรียนในวิชาต่างๆอย่างเป็นเอกเทศ ซึ่งแนวคิดนี้เป็นความท้าทายครั้งใหม่ในการศึกษาของประเทศฟินแลนด์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก เพราะนับเป็นการสร้างวัฒนธรรมการเรียนของเด็กฟินแลนด์ขึ้นมาใหม่ เพื่อตอบสนองกับการพัฒนาในศตวรรษที่ 21
PhenoBL ได้ผ่านการทดลองและการพัฒนามาตั้งแต่ ค.ศ. 1980 จนกระทั่งถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่ของฟินแลนด์ในปี ค.ศ. 2014 โดยได้นำเสนอโมดูลการเรียนรู้แบบพหุวิทยาการ (Multidisciplinary Learning modules: MLs) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะข้ามพิสัย (Transversal Competencies) ของผู้เรียน ซึ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ให้อยู่ในรูปแบบของคาบเรียนที่เน้นการบูรณาแต่ละวิชาผ่านการทำโครงงาน โดยนักเรียนจะได้ศึกษาปรากฏการณ์ตามสภาพจริง (Authentic Phenomena) แบบองค์รวม ได้ทำความเข้าใจประเด็นต่างๆ ในชีวิตจริง โดยไม่แยกย่อยว่าเป็นวิชาใดวิชาหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ที่กว้างขวาง มีแรงกระตุ้นในการเรียนรู้ และได้สร้างการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตัวผู้เรียนเองมากขึ้น
การเรียนรู้แบบ Phenomenon-Based Learning (PBL) หรือ PhenoBL นั้น มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะ
1. เป็นการศึกษาเรื่องราวหรือปรากฏการณ์ต่างๆในสภาพความเป็นจริงแบบองค์รวม (Holistic) โดยใช้ความรู้ข้ามศาสตร์และนำสาระวิชาต่างๆ มาบูรณาการเข้ากับประเด็นเรื่อง (theme) อย่างเป็นธรรมชาติ
2. เป็นการเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามหรือนำเสนอปัญหา (เช่น เหตุใดเครื่องบินจึงสามารถบินและลอยอยู่ในอากาศได้) ซึ่งวิธีการการเรียนแบบ PhenoBL นั้น สอดคล้องกับการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-BasedLearning) เพราะผู้เรียนได้ร่วมกันหาคำตอบสำหรับปรากฏการณ์ที่เขาสนใจ และปัญหากรือคำถามที่ผู้เรียนได้คิดร่วมกันนั้น คือสิ่งที่พวกเขาสนใจอย่างแท้จริง
3. เป็นการเรียนรู้แบบหยั่งลึก(Anchore) สู่ปรากฏการณ์ในชีวิตจริง โดยการประยุกต์ใช้ข้อมูลความรู้และทักษะข้ามสาระวิชาให้เชื่อมโยงกับสถานการณ์จริงนอกห้องเรียน
4. ในกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ข้อมูลใหม่มักจะถูกนำไปประยุกต์เข้ากับปรากฏการณ์หรือใช้แก้ปัญหานั้นๆ หมายความว่า ทฤษฎีและข้อมูลความรู้ต่างๆ จะเป็นคุณประโยชน์ต่อสถานการณ์การเรียนรู้ดังกล่าว การฝึกประยุกต์ใช้ข้อมูลในสถานการณ์มีความสำคัญมากที่จะช่วยให้นักเรียนได้ซึมซับข้อมูลความรู้ใหม่และเรียนรู้ได้อย่างลึกซึ้ง
5. PhenoBL ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงมากขึ้นเพราะผู้เรียนจะได้ใช้กระบวนการทางปัญญา (Cognitive Processes) หรือกระบวนการคิด (Thinking Processes) อย่างเต็มที่ในการแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริง (authenticity) ซึ่งสถานการณ์จริงนี้เป็นเงื่อนไขหลักสำคัญ สำหรับการถ่ายโอนและนำข้อมูลความรู้ไปประยุกต์ใช้
ที่มา :www.trueplookpanya.com
#KTDMore#Finland#AI#หุ่นยนต์#การศึกษา#การสอบ#การเรียนรู้#นักเรียน#นักศึกษา#เยาวชน#Education#การศึกษา#KTD#KTDTech#เทคโนโลยี#ไอที#นวัตกรรม#ข่าวสาร#ข่าวสารไอที#เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย#Katanyudemy#กตัญญูเดมี่#กตัญญู#พัฒนาการศึกษาไทย ไม่อยากพลาดข่าวสารและเรื่องราวน่ารู้ด้านการศึกษาดี ๆ จากทุกมุมโลก อย่าลืมติดตาม Katanyudemy กันนะคะ
ติดต่อลงข่าวและประชาสัมพันธ์สามารถ inbox เข้ามาที่เพจได้เลยค่ะ
สนับสนุนโดย cutepress ORIENTAL PRINCESS และกตัญญู
อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมคลิก