สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือสพฐ. ประกาศจะนำการศึกษาไฮสโคปมานำร่องในโรงเรียนในสังกัดกว่า 300 โรงและพร้อมจะขยายไปสู่โรงเรียนอนุบาลอื่น ๆ
รู้จักไฮสโคป
สำหรับแนวการศึกษา ไฮสโคป (High Scope) จริง ๆ แล้วในประเทศไทยเรารู้จักมาเป็นเวลามากกว่า 35 ปีแล้ว โดยที่ลักษณะเป็นการทดลองวิจัยเพื่อทำให้การศึกษาปฐมวัยของเราเข้มแข็งขึ้น ให้มีการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองเด็กเป็นรายบุคคลมากขึ้นหรือที่เรารู้จักกันในชื่อภาษาอังกฤษว่า Child Centered
คนแรกที่คิดขึ้นมาคือ Prof. Dr.David Weikart เป็นนักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน โดยทำทดลองเปรียบเทียบเด็ก 3 กลุ่ม เรียกว่า Perry Preschool Project เปรียบเด็ก 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 คือกลุ่มที่เน้นในเรื่องของอ่านเขียนในเชิงของท่องจำ กลุ่มที่ 2 คือเป็นการเรียนการสอน
แบบทั่ว ๆ ไป มีเพลง มีนิทานและกลุ่มที่ 3 เป็นการเรียนหลักสูตรไฮสโคป ที่มีลักษณะของการกระตุ้นให้เด็กคิดและตอบสนองกับพัฒนาการวัย 3-6 ขวบเป็นที่ตั้ง
หลังจากที่วิจัยพบว่าสามารถเพิ่มคะแนน IQ ของเด็กได้ถึง 19 จุดและเมื่อเด็กกลุ่มทดลองนี้ไปอยู่ถึงระดับมัธยมซึ่งสรุปข้อมูลสำคัญมาว่า เด็กที่ได้เรียนในหลักสูตรไฮสโคปจะมีทักษะชีวิตที่ดี มีงานทำ มีบ้าน ไม่ต้องพึ่งพิงสวัสดิการสังคมหรือประกันสังคม ทำให้รัฐบาลอเมริกันหันมาสนใจการศึกษาไฮสโคปมากขึ้น
วงล้อแห่งการเรียนรู้ต้องพึ่งพิงซึ่งกันและกัน โดยขอสรุปคร่าว ๆ Active learning คือการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ ส่วนเรื่องการปฏิสัมพันธ์เราเน้นว่าคนที่ต้องดูแลเด็กก็ต้องเข้าใจพัฒนาการเด็ก มีความรู้ ทางด้านจิตวิทยา การมีปฏิสัมพันธ์ทางบวกและสอนเด็กให้รู้จักการแก้ไขข้อขัดแย้ง เพราะสังคมต้องการคนที่มีทักษะ การประณีประนอม ทักษะของการอยู่ร่วมกัน ในขณะเดียวกัน สิ่งแวดล้อมเราไม่เน้น ลักษณะของสื่อที่เป็นแบบฝึกหัด เราต้องการเน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติจริงจากของเล่นจริง
ระยะหลังไฮสโคป เน้นการพัฒนาด้านสังคมและอารมณ์และสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ เรื่องของการฝึกเด็กตั้งแต่ปฐมวัยให้รู้จักการแก้ไขข้อขัดแย้ง ซึ่งถ้าเด็กถูกฝึกมาให้รู้จักวิธีทำตัวเองให้สงบ วิธีแยกแยะปัญหา สาเหตุของปัญหาคืออะไร ในขณะเดียวกันแนวทางในการแก้ปัญหามันมีหลายทางเลือก แต่เลือกวิธีที่ดีที่สุด ณ บริบทตรงนั้นจะทำให้เด็กคิดแก้ปัญหาเป็น จากงานวิจัยที่ต่อเนื่องกันมามากกว่า 30 ปี ยืนยันได้ว่า เด็กที่ผ่านการเรียนการสอนแบบไฮสโคปจะเป็นเด็กที่รู้คิด ปฏิบัติได้ และมีความสุขกับการเรียนรู้
PDR กระบวนการวางแผนปฏิบัติหรือทบทวน จุดเด่นของไฮสโคป
เพราะการรู้จักวางแผน ลงมือทำ และประเมินผลเป็นกระบวนการที่ช่วยฝึกทักษะสำคัญที่ทำให้เด็กรู้จักคิด แก้ปัญหาและประสบความสำเร็จในอนาคต
กระบวนการวางแผนปฏิบัติหรือทบทวน ที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า PDR จะสอนกระบวนการคิด และกำกับตัวเองว่าคุณวางแผนว่าคุณจะต้องทำอะไร คุณจะดำเนินการตามที่ตัวเองวางแผนไว้ได้ ที่สำคัญคือตรง ที่ทำให้เด็กได้สะท้อนความคิดของตัวเองว่าพอใจในผลงานที่ตัวเองทำไหม มีปัญหาและอุปสรรคยังไงและแก้ไขได้อย่างไรบ้าง รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กรู้สึกว่า ถ้าต่อไปเขาจะเพิ่มเติมสิ่งที่เขาทำมีคุณภาพมากขึ้นได้อย่างไร
คนเราจะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีการวางแผนว่าเรามีวัตถุประสงค์อะไรและให้มุ่งมั่นในแผนไม่โลเล ไม่ว่าจะเผชิญปัญหาหรืออุปสรรคอะไรก็แก้ไขได้ PDR จึงเป็นลักษณะเด่นของไฮสโคป เพราะการฝึกเด็กให้วางแผนเป็น ลงมือทำตามที่วางแผนและคิดทบทวนในสิ่งที่ทำว่าพอใจหรือยังหรือจะปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไร
ที่มา : www.aksorn.com
#HighScope#แนวโน้มการศึกษา#ระบบการเรียนรู้#การศึกษา#การสอบ#การเรียนรู้#นักเรียน#นักศึกษา#เยาวชน#Education#การศึกษา#KTD#KTDTech#เทคโนโลยี#ไอที#นวัตกรรม#ข่าวสาร#ข่าวสารไอที#เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย#Katanyudemy#กตัญญูเดมี่#กตัญญู#พัฒนาการศึกษาไทย
ไม่อยากพลาดข่าวสารและเรื่องราวน่ารู้ด้านการศึกษาดี ๆ จากทุกมุมโลก อย่าลืมติดตาม Katanyudemy กันนะคะ
ติดต่อลงข่าวและประชาสัมพันธ์สามารถ inbox เข้ามาที่เพจได้เลยค่ะ
สนับสนุนโดย cutepress ORIENTAL PRINCESS และกตัญญู www.katanyu77.com
อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม คลิก