#KTDUpdate กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดประชุมเตรียมการแนวทางการสอบ GAT-PAT และวิชาสามัญของนักเรียนที่อยู่ระหว่างการรักษาอาการของโรคโควิด-19 ให้ได้เข้าสอบ
โดยน.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 2 ปีกว่าที่ผ่านมา ประเทศไทยรวมทั้งทั่วโลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งทุกคนมีความกังวลเพราะต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต ทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษา จึงมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันทุกมิติและมีความเป็นห่วงนักเรียนนักศึกษา โดยพยายามหาแนวทาง มาตรการการดำเนินการเพื่อให้เด็กนักเรียนไม่ขาดกระบวนการเรียนรู้และโอกาส โดยในช่วงนี้เป็นช่วงของการที่จะสอบของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยมีการประชุมเพื่อเตรียมการและหาแนวทางร่วมกันเพื่อให้นักเรียนได้เข้าสอบ ไม่เสียสิทธิ์ ไม่ว่าจะเสี่ยงสูงหรืออยู่ระหว่างการรักษาอาการของโรคโควิด 19 โดยที่สามารถมาสอบได้และได้รับการยินยอมจากแพทย์ เพราะเราเห็นร่วมกันว่าอนาคตและความมุ่งมั่น มุ่งหวังของนักเรียนในการร่วมสร้างโอกาสเป็นสิ่งสำคัญ จึงได้จับมือเริ่มต้นการดำเนินการนี้เพื่อนักเรียนและลูกหลานของท่านทุกคน
ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ศธ. ได้ดำเนินงานโดยประสานความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องของการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า
2019 หรือ โควิด 19 กับกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทยมาโดยตลอด เพื่อทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนไม่หยุดนิ่ง การเรียนต้องเดินหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักเรียนได้รับการศึกษาอย่างมี
ประสิทธิภาพแม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด ๆ ก็ตาม
และในโอกาสนี้ได้ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เพื่อช่วยให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสได้เข้าสอบแม้จะติดเชื้อโควิด-19 ถือได้ว่าเป็นความร่วมมือกันทั้ง 4 กระทรวงเพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกัน ดังเช่นทุกภารกิจที่ผ่านมาของ ศบค.ศธ. ด้านผู้แทน ทปอ. กล่าวว่า ปฏิทินการสอบ GAT/PAT และวิชาสามัญ ปีการศึกษา 2565 กำหนดสอบ GATPAT ในระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม 2565 ประกาศผลสอบวันที่ 18 เมษายน 2565
และสอบวิชาสามัญ ในระหว่างวันที่ 19-20 มีนาคม 2565 ประกาศผลสอบวันที่ 20 เมษายน 2565
โดยมีจำนวนผู้สมัคร GAT/PAT และวิชาสามัญ รวมทั้งสิ้น 183,228 คน แบ่งเป็นการสอบ GAT-PAT จำนวน 177,853 คนและสอบวิชาสามัญจำนวน 155,282 คน โดย 5 วิชาที่มีผู้สมัครสูงสุด ได้แก่ 1. วิชา GAT ความถนัดทั่วไป จำนวน 173,125 คน
2. วิชาสามัญ ภาษาอังกฤษ จำนวน 149,712 คน
3. วิชาสามัญ ภาษาไทย จำนวน 139,711 คน
4. วิชาสามัญ สังคมศึกษา จำนวน 137,372 คน
และ 5. วิชา PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ จำนวน 121,055 คน
จากสถิติการสมัครในปีนี้ พบว่าวิชาที่มีผู้สมัครมากสุดคือ GAT ความถนัดทั่วไป มีผู้สมัครทั้งหมด 173,125 คน เมื่อเทียบยอดการสมัคร GAT-PAT ในปีก่อน ๆ พบว่ามีจำนวนลดลงจำนวนมากตามคาด เนื่องจากการปรับปรุง
กระบวนการรับสมัครให้สามารถสมัครหลังทราบผลการคัดเลือกรอบ portfolio จึงทำให้นักเรียนกว่า 80,000 คนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบเผื่อไว้ก่อน นอกจากนี้ยังปรับปรุงการเลือกสนามสอบให้ผู้สมัครเลือกสนามสอบเองตามลำดับความต้องการ 5 ลำดับ ผลการจัดสนามสอบ 97.2% ได้สนามสอบลำดับ 1 ที่เลือกไว้ 2.4% ได้สนามสอบลำดับที่ 2-5 ที่เลือกไว้ 0.4% ได้สนามสอบที่ไม่ได้เลือกไว้ และมีสนามสอบทั้งหมด 213 สนามสอบทั่วประเทศ
ในการจัดห้องสอบสำหรับผู้ติดเชื้อที่ทีอาการเล็กน้อย หรือไม่มีอาการ หรือมีความเสี่ยงสูงตามที่กำหนดในที่ประชุม ศบค. ครั้งที่ 4/2565 วันที่ 23 ก.พ. 2565 ให้เข้าสอบในสนามที่มีการกำหนดเพิ่มขึ้นเป็นการเฉพาะ ไม่สามารถเลือกสนามสอบได้เอง
ได้แก่ (1) สนามสอบพิเศษจังหวัดจันทบุรี สำหรับนักเรียนในจังหวัดจันทบุรี ที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดจันทบุรีร่วมกับศูนย์สอบมหาวิทยาลัยบูรพาและสนามสอบพิเศษมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ที่ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งผู้ประสงค์จะเข้าสอบให้ลงทะเบียนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมงก่อนการสอบ และสามารถเข้าพักในศูนย์สอบพิเศษจนกว่าจะสอบเสร็จสิ้นทุกวิชา โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เช่นการเดินทางมายังสนามสอบฯ ด้วยรถยนต์ส่วนตัว รถยนต์ที่จัดให้เป็นการเฉพาะจากหน่วยบริการสาธารณสุข หรือจากสนามสอบจัดให้เท่านั้น
ด้าน ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีการเปลี่ยนแปลงปฏิทินการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2565 เฉพาะในส่วนของนักเรียนความสามารถพิเศษ และในส่วนของโรงเรียนที่จัดห้องเรียนพิเศษ เพื่อให้โรงเรียนสามารถเป็นสถานที่จัดสอบรายการต่าง ๆ และได้ขอให้โรงเรียนให้ความร่วมมือกับทุกหน่วยงานในการเป็นสถานที่จัดสอบตามรายการและวันดังกล่าว โดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ด้วย
และสำหรับนักเรียนที่กำลังอยู่ในระหว่างการรักษาอาการป่วยนั้น จัดห้องสอบให้เป็นการเฉพาะ ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดและสร้างความมั่นใจและปลอดภัย ไม่เป็นสถานที่แพร่เชื้อ รวมทั้งต้องเน้นย้ำให้นักเรียนที่ป่วยเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว หรือรถยนต์ที่จัดให้เป็นการเฉพาะจากหน่วยบริการสาธารณสุขหรือจากสนามสอบจัดให้เช่นกัน
เพราะการดำเนินการในครั้งนี้ เพื่อให้นักเรียนได้ใช้สิทธิในการสอบเพื่อการศึกษาต่ออย่างไม่มีอุปสรรคใด ๆ ซึ่งก่อนวันสอบนั้นต้องมีการรายงานรายชื่อ จำนวน และสถานที่พักรักษาตัวให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีสถานศึกษาเป็นสนามสอบได้ทราบก่อน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าสอบ
จะเห็นได้ว่า เราสามารถอยู่ร่วมกับโควิด-19 ได้ หากปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งมีแผนเผชิญเหตุรองรับ
นพ.สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การจัดการสอบให้ปฏิบัติตามมติของ ศบค วันที่ 23กุมภาพันธ์2565 ชึ่งประกอบด้วย มาตรการ ด้านสถานที่สอบ ประสานหน่วยบริการสาธารณสุขตามระบบ
อนามัยโรงเรียนในการคัดกรองและให้คำแนะนำด้านสาธารณสุขเพื่อความปลอดภัยขั้นสูงสุด จัดให้มีพื้นที่แยกสำหรับจัดการสอบเป็นสัดส่วนแยกกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง กลุ่มผู้ติดเชื้อ เน้นการระบายอากาศที่ดี
จัดที่นั่งสอบห่างกันไม่น้อยกว่า2เมตร
ด้านผู้เข้าสอบ เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย หรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือก่อนและหลังการเข้าสอบ งดการพูดคุย เว้นระยะห่าง
การเดินทางไปสนามสอบควรใช้รถส่วนตัวหรือประสานหน่วยสถานที่สอบ หน่วยบริการสาธาณสุขกรณีไม่มีรถส่วนตัว
ด้านผู้คุมสอบ ปฏิบัติการคุมสอบตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อสำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุข เช่น ใส่หน้ากากอนามัย ใช้เวลาในการคุมสอบในห้องสอบให้น้อยที่สุด รวมถึงการวางแผนจัดการสอบให้เหมาะสม
สนับสนุนให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ในนามคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ศูนย์อนามัย ศึกษาธิการจังหวัด ทปอ. จังหวัดดำเนินการจัดการสอบให้เป็นไปตามมาตรการ รวมไปถึงการใช้พื้นที่ แยกกัก ชุมชน CI. Hospitel ในการสนับสนุนการสอบ การจัดที่พัก การรับส่งผู้ติดเชื้อ
และในส่วนกทม.และปริมณฑลได้ร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี ในการจัด TAXI ฉุกเฉินให้บริการรับ-ส่งผู้ติดเชื้อ
ส่วนในต่างจังหวัดให้พิจารณาให้ คกก. โรคติดต่อจังหวัดดำเนินการร่วมกับผู้จัดสอบในพื้นที่ต่อไป
ทั้งนี้ จากการประชุมดังกล่าวมีข้อสรุปร่วมกันว่า ได้ร่วมกันวางแผนและกำหนดแนวทางการเตรียมความพร้อมเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับนักเรียนที่ติดเชื้อและผู้มีความเสี่ยงสูงในการเข้าสอบคัดเลือกระบบ
TCAS โดยเห็นควรส่งข้อมูลมาตรการการจัดสอบ GAT- PAT และวิชาสามัญ สำหรับผู้ติดชื้อให้ทุกจังหวัดพิจารณา
โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สาธารณสุข ศึกษาธิการ ทปอ.พื้นที่ อำนวยความสะดวกในการจัด สถานที่สอบ อาจใช้ CI หรือสถานที่ที่เหมาะสม เพื่อขยายศูนย์สอบทั้ง 6 ศูนย์ และให้นักเรียนที่ติดเชื้อประสงค์สอบประสานลงทะเบียนศูนย์สอบได้ระหว่างก่อนการสอบ และให้ คกก. พิจารณาการดูแลที่พักการเดินทางให้เหมาะสมปลอดภัย และระหว่างนี้ ผู้ปกครอง นักเรียน ดูแลสุขภาพโดยยกระดับมาตรการส่วนบุคคลขั้นสูงสุด เพื่อลดการติดเชื้อ
ที่มา : สยามรัฐ
#สอบGATPAT#GATPAT#แนวทางการดำเนินการสอบGATPAT#การดูแลนักเรียนในช่วงสอบGATPAT#ตารางสอบGATPAT#สนามสอบGATPAT#การเข้าสอบคัดเลือกระบบTCAS#นักเรียนติดโควิด#นักเรียน#นักศึกษา#เยาวชน#Education#KTDUpdate#ข่าวสาร#ข่าวการศึกษา#เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย#Katanyudemy#กตัญญูเดมี่#กตัญญู#พัฒนาการศึกษาไทย ไม่อยากพลาดข่าวสารด้านการศึกษาดี ๆ จากทุกมุมโลก อย่าลืมติดตาม Katanyudemy กันนะคะ
ติดต่อลงข่าวและประชาสัมพันธ์เรื่องราวและข่าวสารด้านการศึกษากับ Katanyudemy สามารถ inbox เข้ามาที่เพจได้เลยค่ะ
อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมคลิก