#KTDMore อีก 9 ปี ข้างหน้า แนวโน้มการศึกษาจะเป็นอย่างไร ?
สำหรับการศึกษามีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเราจะเห็นได้จากการศึกษาสมัยก่อนมาสู่ยุคปัจจุบัน ระบบการเรียนรู้ เทคโนโลยีเข้ามาส่วนช่วยส่งเสริมระบบการศึกษาเป็รอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อเกิดวิกฤติโรคระบาด โควิด 19 ทำให้ระบบการศึกษาไทย โรงเรียน บุคคลากรทางการศึกษาต้องปรับตัวขนาดใหญ่เพื่อรับมือกับการเรียนรูปแบบใหม่ นั่นคือการเรียนออนไลน์ บทความนี้เราจะพาไปส่องการศึกษาในอีก 9 ปีข้างหน้า ว่าจะมีแนวโน้มไปในทิศทางไหน โดยอ้างอิงจาก งานวิจัยของ HolonIQ แพลตฟอร์มข้อมูลเทรนด์และงานวิจัยทางการศึกษาระดับโลก เผย 5 ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในโลกแห่งการศึกษาในยุค 2030 ซึ่งได้วิเคราะห์มาจากการใช้ Machine Learning ดึงข้อมูล 5,000 จุดจากแหล่งข่าวชั้นนำทั่วโลก ผนวกกับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่ทำงานวิจัยการศึกษาอย่าง World Bank, OCED และ UNESCO
Scenario 1: Education as Usual การศึกษายังเป็นไปอย่างปกติ ในรูปแบบความเป็นไปได้แบบ status quo นี้ สถาบันการศึกษาจะยังคงเป็นแหล่งหลักในการเรียนรู้เหมือนดังเช่นทุกวันนี้ แต่ก็ต้องเผชิญความท้าทายเรื่องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมสูงวัย และการที่ต้อง reskill สาขาอาชีพเสี่ยงตกงานตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปในตลาดแรงงาน ซึ่งถ้าวิเคราะห์จากสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว จะเห็นได้ว่าสถาบันการศึกษาหลายแห่งปรับตัวตามเทรนด์ไม่ทัน จึงมีการคาดการณ์ว่าจะมีสถาบันหลายแห่งที่ต้องปิดตัวไปในอนาคต
Scenario 2: Regional Rising การศึกษาและการเพิ่มขึ้นในแต่ละภูมิภาค ในรูปแบบนี้ เป็นการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตในรูปแบบกลุ่มประเทศ มีการร่วมมือกันอย่างแข็งแกร่งในภูมิภาคต่าง ๆ จุดที่น่าสนใจคือ ประเทศต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาคมักประสบความท้าทายในรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน จึงมองว่าการร่วมมือกันในระดับภูมิภาคและแก้ปัญหาร่วมกันเป็นทางที่ได้ผลดีที่สุด แทนที่จะให้แต่ละประเทศแยกย้ายกันไปหาวิธีรับมือปัญหาของตนเอง ตัวอย่างเช่น ไทย อินโดนีเซีย และประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำในการศีกษาและความยากจนคล้ายคลึงกัน โดยอาจแก้ปัญหาและเพิ่มรูปแบบ blended learning ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เป็นการเรียนออนไลน์แต่เรียนในห้องเรียน ผู้สอนเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษระดับภูมิภาค สอนออนไลน์แล้วให้เด็กหลาย ๆ ประเทศเข้ามาเรียนพร้อมกัน โดยมีคุณครูในแต่ละห้องเรียนช่วยดูแล
Scenario 3: Global Giants การศึกษาระดับใหญ่ระดับโลก เทคโนโลยีการศึกษามีความสำคัญมากในการเจาะตลาดโลก มีการคาดการณ์ว่าตลาดการศึกษาจะมีขนาด 10 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐภายในปี 2030 ตลาดที่จะเติบโตมากที่สุดคือในทวีปเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประชากรจำนวนมาก และล้วนใช้ smartphone เป็นหลัก ผู้เล่นรายใหญ่จะเริ่มทยอยซื้อกิจการ EdTech รายย่อยจนในที่สุดผู้เล่นรายใหญ่จะสามารถให้บริการที่ครอบคลุมทุกส่วนของการเรียนรู้เชื่อมโยงกัน ทั้งคอร์สเรียน แพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลการเรียน การวัดผล การสื่อสาร และการรายงานผลการเรียน และมีการร่วมมือกันระหว่างผู้เล่นรายใหญ่กับบริษัทชั้นนำ เพื่อสร้าง solution การเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ทักษะการทำงาน บางมหาวิทยาลัยอาจได้รับผลกระทบอย่างหนัก อาจต้องหาทางร่วมมือกันเป็นกลุ่มใหญ่
Scenario 4: Peer to Peer การศึกษาในระบบเพื่อนพึ่งพาเพื่อน เรียนรู้แบบตัวต่อตัว 1-1 รูปแบบนี้จะเป็นไปได้ถ้าหากว่าการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 1-1 ระหว่างบุคคล peer-to-peer ได้รับการยอมรับแบบกว้างขวางภายในปี 2030 ซึ่งก็เป็นไปได้ เพราะว่าเทคโนโลยีได้เชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกันแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะมีราคาถูกลง ทำให้เข้าถึงได้กว้างขึ้นไปอีก รูปแบบนี้เหมาะกับการเรียนรู้ทักษะการทำงานของผู้ใหญ่มาก จะมีการรับรองคุณภาพด้วย rating ของผู้สอนซึ่งถูกโหวตในระบบเปิดและการออกใบรับรองแบบใหม่ ๆ เป็นการกระจายการเรียนรู้แบบกว้างขึ้นไปอีกเพราะผู้สอนเป็นใครก็ได้ที่มีทักษะและประสบการณ์ในสายอาชีพนั้น ไม่จำเป็นต้องมาจากสถาบันแบบดั้งเดิม การเรียนการสอนจะถูกโยกจากระดับสถาบันมาเป็นระดับบุคคล
การใช้ smartphone ผสานกับบทเรียนขนาดสั้น micro-learning จะทำให้การเรียนรู้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้เรียนเองก็มีทางเลือกใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น
Scenario 5: Robo Revolution การปฏิวัติระบบการศึกษา ในการศึกษา AI จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากเช่นกัน แต่แบบที่ได้ผลดีที่สุดยังคงต้องเป็นการผสมผสานระหว่างระบบอัตโนมัติกับความใส่ใจของคุณครู เพราะการเรียนรู้ของคน ไม่ใช่การเขียนโค้ดระบบสั่งการเหมือนหุ่นยนต์ คาดการณ์ว่าการเรียนรู้จะเป็นแบบ personalized ปรับให้เหมาะกับนักเรียนแต่ละคนมากที่สุดโดยเรียนผ่านระบบ ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน นักเรียนแต่ละคนจะได้เรียนบทเรียนที่ต่างกันตามระดับความรู้ความเข้าใจแต่ละคน ครูอาจต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอน มาเป็นผู้ดูแลให้คำแนะนำ ทำให้ครูมีเวลาและมีข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้คุณครูสามารถให้กำลังใจนักเรียน ส่งเสริมการเรียนรู้ สอนเพิ่มเติมในจุดที่ต้องการความช่วยเหลือ ดูแลเอาใจใส่นักเรียนแต่ละคนที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน
ที่มา : learneducation.co.th
#อีก9ปีข้างหน้าแนวโน้มการศึกษาจะเป็นอย่างไร#แนวโน้มการศึกษา#ระบบการเรียนรู้#การศึกษา#การสอบ#การเรียนรู้#นักเรียน#นักศึกษา#เยาวชน#Education#การศึกษา#KTD#KTDTech#เทคโนโลยี#ไอที#นวัตกรรม#ข่าวสาร#ข่าวสารไอที#เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย#Katanyudemy#กตัญญูเดมี่#กตัญญู#พัฒนาการศึกษาไทย
ไม่อยากพลาดข่าวสารและเรื่องราวน่ารู้ด้านการศึกษาดี ๆ จากทุกมุมโลก อย่าลืมติดตาม Katanyudemy กันนะคะ
ติดต่อลงข่าวและประชาสัมพันธ์สามารถ inbox เข้ามาที่เพจได้เลยค่ะ
สนับสนุนโดย cutepress ORIENTAL PRINCESS และกตัญญู www.katanyu77.com
อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมคลิก