#KTDTricks “หาว” เมื่อไร คนรอบตัวมักจะทักว่าเมื่อคืนนอนดึกเหรอ ช่วงนี้นอนไม่พอเหรอหรือหากกำลังนั่งคุยกันอยู่แล้วเราหาวอาจโดนทักว่าเบื่อเหรอ หรือน้อง ๆ บางคนก็หาวจนเรียนกันไม่รู้เรื่องจนหมดคาบเรียนกันเลย จริง ๆ แล้วที่ร่างกายเราสั่งให้เราหาวเป็นเพราะอะไร แล้วหากเราหาวบ่อยเกินไปในหนึ่งวันจะผิดปกติหรือไม่ วันนี้ มีคำตอบจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขมาฝากกัน
ทำไมเราถึง “หาว”
การหาวเป็นกลไกหนึ่งของร่างกายที่ต้องการจะรับเอาออกซิเจนจากอากาศเข้าสู่กระแสเลือด พร้อมกันนั้นก็ช่วยขับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดออกไป เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย การหาวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อร่างกายเรามีออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือมีคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดมากเกินไป จนก่อให้เกิดอาการง่วง เหงา หาวนอนขึ้นมาได้นั่นเอง “หาว” แค่ไหนถึงเรียกว่า “หาวบ่อย”
การหาวบ่อย ก็คือ อาการหาวที่เกิดขึ้นบ่อยๆ มากกว่า 1 ครั้งต่อนาที และถึงแม้ว่าสาเหตุส่วนใหญ่ของการหาวอาจมาจากความง่วง หรือความอ่อนเพลีย แต่ในบางครั้งแล้วนั้นการหาวมากจนผิดปกติ อาจเป็นผลมาจากสาเหตุเหล่านี้
นอนหลับไม่เพียงพอ
การนอนหลับไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการง่วงนอนตอนกลางวันได้ ถึงจะดูเหมือนไม่ได้ร้ายแรงอะไร แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงยังก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายอย่างโรคอ้วน โรคหัวใจ หรือโรคซึมเศร้า ฯลฯ ทั้งนี้ให้ลองเช็คตัวเองดูหากเป็นเช่นนั้นควรปรับพฤติกรรมการนอนและจัดตารางการนอนใหม่
นอนไม่หลับ
นอนไม่หลับ เป็นอาการที่ร่างกายรู้สึกอยากจะนอน แต่ไม่สามารถหลับได้ อาจจะใช้เวลานานกว่าปกติ หลับไปแล้วแต่ตื่นเร็ว หรือตื่นขึ้นมากลางดึก แล้วไม่สามารถนอนหลับต่อไปได้ ทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เต็มที่ ดังนั้นควรเข้านอนให้เป็นเวลาเพื่อให้ร่างกายชิน และควรงดเครื่องดื่มที่มีสารออกฤทธิ์กระตุ้นสมอง เช่น สารคาเฟอีนที่มีอยู่ในชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
แต่หากอยากดื่มควรเลือกดื่มก่อน 14.00 น. เพราะถ้าดื่มหลัง 14.00 น. อาจทำให้ร่างกายมีปัญหานอนไม่หลับได้ หากมีปัญหานอนไม่หลับบ่อยๆ ควรพบแพทย์
ผลข้างเคียงจากยา
กลุ่มคนที่รับประทานยา เช่น กลุ่มยารักษาโรคซึมเศร้า หรือกลุ่มยารักษาภาวะวิตกกังวล อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียง มีอาการง่วงซึม นอนไม่หลับได้
อาการข้างเคียงจากโรคที่เป็นอยู่
มีหลายโรคที่ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการหาวบ่อยกว่าปกติ เช่น โรคปลอกประสาทอักเสบชนิด MS (multiple sclerosis) เนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก ตับวาย กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เป็นต้น
วิธีแก้อาการหาวบ่อย ๆ
หากคุณเป็นคนที่หาวบ่อยจนทำให้เกิดปัญหา เช่น หาวในระหว่างทำงาน เรียน หรือประชุมบ่อยๆ คนดูไม่ดี มีวิธีแก้ไข ดังนี้
1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยทั่วไปมักอยู่ที่ 6-9 ชั่วโมง
2. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า
3. ดื่มน้ำเปล่าให้มากๆ เพื่อเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
4. หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลที่มากเกินไป เพราะการรับประทานอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลมากจนเกินไป เป็นตัวการที่ทำให้ร่างกายง่วงซึมได้ เพราะตับอ่อนจะส่งอินซูลินออกมาเพื่อย่อยน้ำตาลเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ก่อให้เกิดอาการง่วงนอนตามมานั่นเอง
5. ลุกขึ้นมาจากเก้าอี้ เมื่อนั่งเรียน นั่งทำงานในท่าเดิมนานๆ
6. งดหรือลดเครื่องดื่มคาเฟอีน
หากลองปรับพฤติกรรมแล้วอาการหาวบ่อยๆ ยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาอย่างตรงจุดต่อไป. ข้อมูลจาก : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
#หาว#หาวบ่อย#วิธีแก้เมื่อหาวบ่อย#นักเรียน#นักศึกษา#เยาวชน#Education#KTDTricks#สาระน่ารู้#สาระดีๆ#เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย#Katanyudemy#กตัญญูเดมี่#กตัญญู#พัฒนาการศึกษาไทย ไม่อยากพลาดข่าวสารด้านการศึกษาดี ๆ จากทุกมุมโลก อย่าลืมติดตาม Katanyudemy กันนะคะ
ติดต่อลงข่าวและประชาสัมพันธ์เรื่องราวและข่าวสารด้านการศึกษากับ Katanyudemy สามารถ inbox เข้ามาที่เพจได้เลยค่ะ
สนับสนุนโดย cutepress ORIENTAL PRINCESS และกตัญญู www.katanyu77.com
อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมคลิก