#KTDMore “#วัยรุ่น คือขั้นบันไดที่อยู่ระหว่างวัยเด็กกับวัยผู้ใหญ่” ขั้นบันไดนี้เกิดการเปลี่ยนแปลง และพัฒนามากมายภายในร่างกายและจิตใจของมนุษย์ (วัยรุ่น) ที่เด่นชัดคือการเปลี่ยนเเปลงทางสรีรวิทยา เช่น เสียงแตกหนุ่ม ตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ขนแขน ขนขา ขึ้นตามตัวในวัยรุ่นชาย การเป็นประจำเดือน หน้าอกขยายใหญ่ ในวัยรุ่นหญิง ส่วนสมองของวัยรุ่นก็เกิดความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เช่นกัน
“6 สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับสมองของวัยรุ่น” มีดังนี้ 1. การเติบโตของสมองของวัยรุ่นหญิง – ชายมีความแตกต่างกัน
โดยเฉลี่ยแล้วเด็กหญิงจะเข้าสู่วัยแรกรุ่นเมื่ออายุ 10 – 14 ปี ส่วนเด็กชายจะเข้าสู่วัยแรกรุ่นเมื่ออายุ 12 – 16 ปี สาเหตุที่เด็กหญิงเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าเด็กชาย ก็เพราะว่าสรีระของเพศหญิงเติบโตเร็วกว่าเพศชาย เฉลี่ยแล้ว 2 ปี นั่นหมายความว่าเด็กหญิงจะเริ่มสูงและดูเป็นผู้ใหญ่เร็วกว่าเด็กชาย ในที่นี้รวมไปถึงการเติบโตของสมองของเพศหญิงที่เร็วกว่าเพศชายด้วย 2. ขนาดสมองของเราจะไม่โตขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุที่มากขึ้นของเรา
สำหรับเด็กหญิงขนาดของสมองเติบโตถึงขีดสุดคือตอนอายุ 11 ปี ส่วนเด็กชายขนาดสมองเติบโตถึงขีดสุดคือตอนอายุ 14 ปี แต่การเติบโตที่รวดเร็วกว่าไม่ได้หมายความว่าเด็กหญิงจะฉลาดกว่าเด็กชายหรือเด็กชายจะฉลาดกว่าเด็กหญิง 3. การที่สมองเติบโตถึงขนาดที่ใหญ่ที่สุดของมัน ไม่ได้หมายความว่าสมองจะสิ้นสุดการเติบโตทางด้านวุฒิภาวะ
สำหรับวัยรุ่นชายหญิง ถึงแม้ว่าสมองเติบโตจนมีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเป็นมา แต่สมองของวัยรุ่นก็ยังไม่พัฒนาและเติบโตเต็มที่จนกว่าจะถึงช่วงกลางถึงช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไป ส่วนหน้าของสมองที่เรียกว่า “สมองกลีบหน้าผาก” (The prefrontal cortex) เป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วนสุดท้ายที่จะเจริญเติบโต สมองส่วนนี้ดูแลรับผิดชอบในการวางแผน จัดเรียงลำดับความสำคัญ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ และการยับยั้งชั่งใจ ซึ่งสิ่งที่จะช่วยให้วัยรุ่นหญิงชายพัฒนาสมองส่วนนี้ขึ้นมา ต้องเริ่มตั้งแต่พวกเขายังเป็นเด็ก พ่อแม่และผู้ใหญ่ควรให้เด็กลงมือทำงานเพื่อพัฒนาสมองของพวกเขาเรื่อยมา
4. สมองของวัยรุ่นมหัศจรรย์มาก เพราะสามารถเรียนรู้และปรับตัวได้อย่างรวดเร็วกว่าสมองของวัยผู้ใหญ่
สำหรับวัยรุ่น แม้ตลอดวัยเด็กที่ผ่านมาจะไม่เคยมีโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเองมาก่อน เมื่อได้เป็นเจ้าของ วัยรุ่นสามารถเรียนรู้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็วในเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง ในขณะที่ผู้ใหญ่อาจจะต้องใช้เวลาเป็นวัน ๆ “ยิ่งอายุมากขึ้นการเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ยิ่งช้าลง แต่ไม่ได้หมายความเรียนรู้ไม่ได้” ดังนั้น หากไม่ได้มอบเวลาหน้าจอมากมายให้กับวัยรุ่นในวัยเด็กของ ก็ไม่ได้หมายความว่าวัยรุ่นคนนี้จะมีทักษะทางเทคโนโลยีที่ต่ำกว่าเพื่อนที่ได้รับโอกาสสัมผัสหน้าจอมากกว่า วัยรุ่นเรียนรู้ทักษะเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว ไม่นานก็จะตามเพื่อนทันอย่างง่ายดาย
5. ความผิดปกติทางจิตหลายอย่างเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น
เนื่องจากเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะมีหลายอย่างเปลี่ยนแปลงในตัวของเด็กคนหนึ่ง ทั้งฮอร์โมนที่มีมากขึ้น การต้องรับมือกับภาระที่มีมากมายจนเกือบจะเท่าผู้ใหญ่ ทั้ง ๆ ที่เพิ่งจะผ่านวัยเด็กมาและการต้องควบคุมตัวเอง ในสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งกระตุ้นมากมาย สมองที่คิดรับมือสิ่งใหม่ ๆ ที่เข้ามาตลอดเวลา ทั้งยังห่วงเรื่องร่างกายที่เปลี่ยนแปลงกระทันหัน ยิ่งกังวลกับการไม่เป็นที่ยอมรับ เช่น แต่ก่อนฉันไม่เคยต้องกังวลเรื่องกลิ่นตัว ความ
สูง และกลิ่นปาก เดี๋ยวนี้แค่คุยกับเพื่อน ต้องคอยระวัง หรือสำหรับวัยรุ่นผู้หญิงต้องคอยระวังในวันที่ประจำเดือนมาแล้วกระโปรงจะเลอะไหม สิวขึ้นเต็มหน้า หรือกังวลเรื่องความอ้วน นอกจากนั้นแล้ว วัยรุ่นยังเป็นวัยที่ได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่ต่าง ๆ ที่คล้ายกับผู้ใหญ่ เช่น การขับขี่ยานพาหนะ การมีใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรก การแต่งงาน การเปิดบัญชีธนาคารด้วยตัวเอง และอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม วัยรุ่นก็ยังไม่มีประสบการณ์เทียบเท่าผู้ใหญ่ ซึ่งอาจจะทำผิดพลาดได้บ่อยครั้งกับการต้องตัดสินใจที่ขาดประสบการณ์ความเครียดมากมายที่ก่อตัวขึ้นมาในวัยรุ่นส่งผลให้เกิดโรคจิตเวชตามมา เช่น โรคซึมเศร้า (Depression) โรคความผิดปกติในการกิน (Eating disorder) โรควิตกกังวล (Anxiety) และโรคจิตเภท (Schizophrenia) คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิดปกติของความคิด ทำให้ผู้ป่วยมีความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง ดังนั้น พ่อแม่ผู้ใหญ่ที่อยู่กับวัยรุ่นควรรับฟังให้มาก แสดงการยอมรับในตัวตนที่เขาเป็น หากต้องการช่วยแก้ปัญหา พ่อแม่ต้องหยุดตำหนิและลงมือช่วยก่อนแล้วค่อยตามด้วยการสอนอย่างเป็นกลาง “สายสัมพันธ์ที่ดี มีผลอย่างมาก” กลับไปสู่สายสัมพันธ์ทุกครั้ง หากคุยกับวัยรุ่นไม่ได้
สำหรับวัยรุ่น “การดุ การด่า และการตี” เขาไม่ได้กลัวมันอีกแล้ว แต่ถ้าหากพ่อแม่ให้เกียรติเขา ด้วยการรับฟังด้วยเหตุผล เขาก็จะให้เกียรติกลับมาด้วยการปฏิบัติต่อเราอย่างมีเหตุผล 6. วัยรุ่นต้องการการนอนหลับมากกว่าเด็กและผู้ใหญ่
แม้ว่ามันอาจดูเหมือนวัยรุ่นขี้เกียจ แต่หลักวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่า “ระดับเมลาโทนิน (ระดับฮอร์โมนการนอนหลับ) ในเลือดของวัยรุ่นเพิ่มขึ้นตามธรรมชาติในเวลากลางคืน และลากยาวมาถึงตอนเช้ามากกว่าวัยเด็ก และวัยผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ นี่อาจอธิบายได้ว่าทำไมวัยรุ่นจำนวนมากนอนดึกและมีความยากลำบากในการตื่นนอนในตอนเช้า วัยรุ่นควรนอนประมาณ 9 – 10 ชั่วโมงต่อคืน แต่วัยรุ่นส่วนใหญ่ไม่ได้นอนหลับเพียงพอ เนื่องจากตารางเวลาที่ขัดกับธรรมชาติของร่างกายวัยรุ่น การนอนหลับไม่เพียงพอในวัยรุ่นสามารถส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้า หรือ การบกพร่องในการควบคุมอารมณ์ได้ ซึ่งนานวันอาจจะส่งผลต่อการเป็นโรคทางจิตได้
ดังนั้น หากมีวัยรุ่นในครอบคัวนอนดึกมากแล้วตื่นสาย หรือ ตื่นเที่ยงในวันหยุดของพวกเขา โปรดเข้าใจในสมองของวัยรุ่นด้วย อย่าเข้มงวดกับพวกเขานัก แค่วันจันทร์ถึงศุกร์ที่วัยรุ่นต้องไปโรงเรียนแต่เช้า โดยเฉพาะวัยรุ่นไทยที่ต้องฝ่ารถติดไปโรงเรียน ให้เขาได้นอนเต็มอิ่มในวันหยุดเสาร์อาทิตย์บ้าง
วัยรุ่นก็คือเด็กคนหนึ่งที่อยู่ในร่างผู้ใหญ่ ร่างกายเขาเริ่มเติบโตเต็มที่แล้วแต่จิตใจของเขาเพิ่งเริ่มเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตแบบผู้ใหญ่ เขาลองผิดลองถูก พัฒนาตัวตนและเรียนรู้ที่จะสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง
ในวันที่วัยรุ่นเจอปัญหาและเหนื่อยล้าเต็มที่ เขาจะกลับมาเติมพลังที่บ้านของเขา ดังนั้น พ่อแม่และผู้ใหญ่มีหน้าที่ทำบ้านให้น่าอยู่ แล้วเขาจะกลับมาพักใจกับเราเอง.
ที่มา : ตามใจนักจิตวิทยา
#วัยรุ่น#สมองของวัยรุ่น#พัฒนาการทางด้านร่างกายของวัยรุ่น#พัฒนาการทางด้านสมองของวัยรุ่น#วัยเรียน#นักเรียน#นักศึกษา#เยาวชน#พ่อแม่และวัยรุ่น#ครอบครัว#การรับมือกับวัยรุ่น#Education#KTDMore#บทความ#บทความที่น่าสนใจ#เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย#Katanyudemy#กตัญญูเดมี่#กตัญญู#พัฒนาการศึกษาไทย
. ไม่อยากพลาดข่าวสารและเรื่องราวน่ารู้ด้านศึกษาดี ๆ จากทุกมุมโลก อย่าลืมติดตาม Katanyudemy กันนะคะ
. ติดต่อลงข่าวและประชาสัมพันธ์เรื่องราวและข่าวสารด้านการศึกษากับ Katanyudemy สามารถ inbox เข้ามาที่เพจได้เลยค่ะ
. สนับสนุนโดย cutepress ORIENTAL PRINCESS และกตัญญู www.katanyu77.com
อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมคลิก