Katanyudemy

katanyudemy

ลักษณะของคำไทยแท้ มีวิธีสังเกตุอย่างไร

🌐 เรื่องน่ารู้หลักภาษาไทย “คำไทยแท้” เป็นคำดั้งเดิมที่มีใช้อยู่ในภาษาไทย น้อง ๆ หลายคนอาจจะสับสนกับคำภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศและใช้ปะปนจนแยกไม่ออก เช่น สันสกฤต คำว่า บริษัท โฆษณา ประกาศ ภรรยา แพทย์ หรือ จีน คำว่าก๋วยเตี๋ยว ซาลาเปา เต้าฮวย บะหมี่ ลิ้นจี่ เป็นต้น ดังนั้นวันนี้เรามาติดตามกันว่า คำไทยแท้มีหลักในการสังเกตที่ทำให้เราสามารถแยกแยะวิเคราะห์ได้ว่าคำนี้เป็นไทยแท้ได้อย่างไรมาติดตามกันเลย

ลักษณะของคำไทยแท้

🌐 1.คำไทยแท้ส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียว เรียกว่าเป็น ภาษาคำโดด และความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ปู่ ย่า แขน ขา หมา แมว ฟ้า ฝน นั้ง นอน ฯลฯ

ข้อสังเกต : คำไทยแท้ เมื่ออ่านแล้วจะเข้าใจความหมายได้ทันที ไม่ต้องแปลอีกรอบนึง แล้วถ้ามีหลายพยางค์ละจะสังเกตอย่างไรว่าเป็นคำไทยแท้ ลองมาดูกัน

🌐 1.1. การกร่อนเสียง คือ คำ 2 คำ เมื่อพูดเร็ว ๆ ทำให้ออกเสียงคำแรกสั้นลงกลายเป็นคำ 2 พยางค์ เช่น
ตาวัน เป็น ตะวัน หมากม่วง เป็น มะม่วง
สายดือ เป็น สะดือ ตาปู เป็น ตะปู

🌐 1.2. การแทรกเสียง คือ การเติมพยางค์ลงไปตรงกลางระหว่างคำ 2 คำ เช่น
นกจอก เป็น นกกระจอก ลูกเดือก เป็น ลูกกระเดือก

🌐 1.3. การเติมพยางค์หน้า คือ การเติมพยางค์ที่หน้าคำมูลโดยให้มีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น
ทำ เป็น กระทำ โจน เป็น กระโจน เดี๋ยว เป็น ประเดี๋ยว

🌐 2.คำไทยแท้มักจะสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด
แม่กก สะกดด้วยตัว ก เช่น กัก เด็ก ลูก จอก
แม่กง สะกดด้วยตัว ง เช่น เก่ง นั่ง พิง ถัง
แม่กด สะกดด้วยตัว ด เช่น กด ปิด อวด ปูด
แม่กน สะกดด้วยตัว น เช่น กิน นอน ฉุน เห็น
แม่กบ สะกดด้วยตัว บ เช่น กับ แคบ จบ ซูบ
แม่กม สะกดด้วยตัว ม เช่น ชาม หอม ดื่ม ตุ่ม
แม่เกอว สะกดด้วยตัว ว เช่น แมว หิว ข้าว หนาว
แม่เกย สะกดด้วยตัว ย เช่น คอย ขาย ปุ๋ย ตาย

🌐 3.คำไทยแท้จะไม่ใช้พยัญชนะ ฆ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ศ ษ ฬ

ยกเว้นบางคำต่อไปนี้ที่เป็นคำไทย ได้แก่ ฆ่า เฆี่ยน ระฆัง ฆ้อง ตะเฆ่ ใหญ่ หญ้า เฒ่า ณ ธ ธง เธอ สำเภา ภาย เศร้า ศึก ศอก ศอ ศก

🌐 4.คำไทยจะใช้ “ใ” (ไม้ม้วน) มี 20 คำ คือ มีบทท่องจำง่าย ๆ ดังนี้

ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู
จะใคร่ลงเรือใบ ดูน้ำใสและปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้ มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี

🌐 5.คำไทยจะมีรูปวรรณยุกต์กำกับ ทำให้ออกเสียงต่างกัน และทำให้มีความหมายต่างกัน เช่น
ปา หมายถึง ซัดไปด้วยอาการยกแขนขึ้นสูงแล้วเอี้ยวตัว
ป่า หมายถึง ที่ที่มีต้นไม้ต่าง ๆ ขึ้นมา
ป้า หมายถึง พี่สาวของพ่อหรือแม่ คำเรียกหญิงที่ไม่รู้จักแต่มักมีอายุแก่กว่าพ่อหรือแม่

สิ่งที่ควรระวัง!!! คำบางคำที่มีตัวสะกดตามมาตรา แต่ไม่ใช่คำแท้ ได้แก่ โลก กาย ซน วัย ชัย เดิน โปรด เป็นต้น

🌐 6.คำไทยแท้ไม่นิยมใช้ตัวการันต์ เช่น ยัน สัด สัน เป็นต้น

🌐 7. คำไทยแท้ไม่นิยมใช้คำควบกล้ำ เช่น เรา ไร่ ดี ดาบ หิน เป็นต้น

#KTDThai#คำไทย#ยกระดับการเรียนการสอน#การศึกษา#การสอบ#การเรียนรู้#นักเรียน#KTDUpdate#นักศึกษา#เยาวชน#Education#การศึกษา#KTD#KTDTech#เทคโนโลยี#ไอที#นวัตกรรม#ข่าวสาร#ข่าวสารไอที#เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย#Katanyudemy#กตัญญูเดมี่#กตัญญู#พัฒนาการศึกษาไทย

📣 ไม่อยากพลาดข่าวสารและเรื่องราวน่ารู้ด้านการศึกษาดี ๆ จากทุกมุมโลก อย่าลืมติดตาม Katanyudemy กันนะคะ

☎ ติดต่อลงข่าวและประชาสัมพันธ์สามารถ inbox เข้ามาที่เพจได้เลยค่ะ  🥰

🙏 สนับสนุนโดย cutepress ORIENTAL PRINCESS และกตัญญู www.katanyu77.com

อ่านบทความ อื่น ๆ เพิ่มเติม คลิก