#KTDChina
ประเทศจีนได้นำหุ่นยนต์มาใช้ 90,000 ตัว ซึ่งถือว่ามีจำนวนประมาณ 1 ใน 3 ของจำนวนหุ่นยนต์ทั้งหมดในโลก และมีอัตราเพิ่มขึ้น 30%
ปัจจัย 3 ประการ ที่ขับเคลื่อนจีน ให้ก้าวไปสู่การยอมรับและนำหุ่นยนต์มาใช้ในประเทศ ได้แก่ ขนาดการผลิต แรงกระตุ้นการเติบโต และเงินทุน โดยประการแรกคือ บริษัท Startup สามารถบรรลุผลสำเร็จด้านขนาดการผลิตได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากตลาดในประเทศมีขนาดใหญ่ ประการที่สอง บริษัทต่างๆ กำลังอยู่ภายใต้แรงกดดัน ในการทำงานระบบอัตโนมัติ ทำให้เกิดความต้องการหุ่นยนต์สำหรับอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า (อ้างอิงจาก International Federation of Robotics) ประการที่สามรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนส่งเสริมอย่างเข้มแข็งในการขับเคลื่อน
โครงการ “Made in China 2025” และมีการจัดตั้ง CRIA (Chinese Robotics Industry Alliance) ขึ้น เพื่อให้สิทธิประโยชน์หลายๆ ด้าน และสนับสนุนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์อย่างจริงจัง ซึ่งเมื่อมองย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจะเห็นว่าภาคอุตสาหกรรมหุ่นยนต์นี้แทบจะไม่มีตัวตนในประเทศจีน
“Made in China 2025” ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศจีนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศจีนให้เข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกได้รับแรงบันดาลใจจากประเทศเยอรมันนี โดยถือว่าประเทศเยอรมนีเป็นประเทศแรกที่ได้มีการใช้คำว่าอุตสาหกรรม 4.0 ในปี 2011 เป็นครั้งแรกของโลก และหลังจากนั้นหลายประเทศก็ได้รับอิทธิพลต่อแนวคิดดังกล่าว ซึ่งโดยเนื้อแท้ของแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 ก็คือการผลิตที่มีความชาญฉลาดโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการใช้ระบบเซ็นเซอร์ที่เรียกว่า “Internet of Things” หรือ IoT ทำการเชื่อมโยงระบบการทำงานขององค์กรจนไปถึงระบบการผลิตในโรงงาน ตั้งแต่การผลิตขนาดเล็กจนไปถึงการผลิตระดับกลางและใหญ่ จนนำไปสู่การผลิตแบบอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์นั่นเอง
ภายใต้โครงการ “Made in China 2025” และแผนดำเนินการหุ่นยนต์ 5 ปี แสดงให้เห็นว่าประเทศจีนกำลังให้ความสำคัญกับการทำงานอัตโนมัติในภาคเศรษฐกิจที่สำคัญๆ เช่น การผลิตรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ภายในบ้าน โลจิสติกส์ และการผลิตอาหาร ในขณะเดียวกันรัฐบาลต้องการเพิ่มส่วนแบ่งของหุ่นยนต์ที่ผลิตในประเทศให้มากขึ้นกว่า 50%
ผู้ผลิตหุ่นยนต์และบริษัทที่ดำเนินการโดยระบบอัตโนมัติจะมีสิทธิพิเศษที่จะได้รับเงินอุดหนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ, การยกเว้นภาษี, การใช้ที่ดินโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า และสิ่งจูงใจอื่นๆ ซึ่งหนึ่งในโครงการดังกล่าวสามารถดึงดูดใจวิศวกรชาวจีนที่ทำงานในต่างประเทศให้นำเงินทุนหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ เข้ามาทุ่มเทในเทคโนโลยีการผลิตหุ่นยนต์และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อีกประการหนึ่งก็คือการสนับสนุนให้รัฐบาลท้องถิ่นสนับสนุนส่งเสริมให้บริษัทในภูมิภาคปรับใช้หุ่นยนต์ในกระบวนการผลิตของตน และอนุญาตให้บริษัทของประเทศจีนสามารถซื้อเทคโนโลยีหุ่นยนต์จากบริษัทของทางยุโรปได้
The Robot Report รายงานว่า ผู้ประกอบการของจีน ได้มีการเข้าซื้อกิจการจำนวนมาก โดยมีบริษัทที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์ ได้แก่
1. Midea ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคของจีน ได้ซื้อกิจการ KUKA ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตหุ่นยนต์ในระดับโลก
2. บริษัทในกลุ่ม Kion ซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับระบบคลังสินค้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าซื้อกิจการบริษัท Dematic ซึ่งเป็นบริษัทจัดการวัสดุรายใหญ่ของยุโรป
3. KraussMaffei ซึ่งเป็นศูนย์รวมหุ่นยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมรายใหญ่ของเยอรมัน ถูกซื้อกิจการโดย ChemChina
4. Paslin บริษัทหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ถูกซื้อกิจการโดย Zhejiang Wanfeng Technology ซึ่งเป็นผู้ประกอบการหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแห่งประเทศจีน
จีนได้ตั้งเป้าหมายที่ผลิตหุ่นยนต์อุตสาหกรรมให้ได้ 260,000 ตัว ในปี 2025 และผลิต 400,000 ในปี 2030 ซึ่งหากทำได้ตามแผนดังกล่าว จะช่วยสร้างรายได้ให้กับจีนได้ถึง 88 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงทศวรรษหน้า ซึ่งเป้าหมายที่จีนได้ระบุไว้ในแผน 5 ปีและโครงการ Made in China 2025 ก็คือ การตามให้ทันประเทศเยอรมนี, ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ในด้านการผลิตในปี 2049 ซึ่งเป็นปีที่ครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งรัฐบาลจีนต้องการให้โรงงานผู้ผลิตชาวจีนใช้หุ่นยนต์เป็นล้านๆตัว นอกจากนี้ยังต้องการให้บริษัทในประเทศจีนเริ่มผลิตหุ่นยนต์เหล่านี้เพิ่มขึ้น
มีการคาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในประเทศจีนจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และจะมีอุปกรณ์ที่มีต้นทุนต่ำมาก โดยรายงานนี้ขัดแย้งกับทฤษฎีนักวิชาการหุ่นยนต์ และประเด็นอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามีบริษัทผลิตหุ่นยนต์รายใหม่จำนวนมากในประเทศจีน ที่ยังไม่มีบริษัทใดสามารถผลิตหุ่นยนต์ได้หลายพันตัวต่อปี นอกจากนี้ส่วนประกอบต่างๆ ของหุ่นยนต์ ยังมีความซับซ้อนและมีราคาแพง เช่น ตัวลดความเร็ว กลไกควบคุมเครื่องจักร และแผงควบคุม ดังนั้นส่วนใหญ่จึงมีการซื้อและนำเข้าจากต่างประเทศ
การที่จะเป็นผู้นำด้านการผลิตหุ่นยนต์ชั้นนำของโลกนั้น ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการพัฒนาและวิจัยทางด้าน AI ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตไมโครชิพ AI ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการทำให้หุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน จึงทำให้ประเทศจีน ได้มีความชัดเจนว่า AI เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ ซึ่งจีนมีเป้าหมายว่าจะเป็นหนึ่งในด้าน AI ของโลกภายในปี 2030 จึงทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศในยุโรปต่างหวาดระแวงที่ประเทศจีนจะครอบครองตลาดอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ โทรคมนาคมและสามารถที่จะควบคุมอุตสากรรมใหม่ของโลกจนประเทศจีนจะกลายเป็นมหาอำนาจของโลกในศตวรรษที่ 21 นั่นเอง
ที่มา : www.it24hrs.com
#KTDChina#China#AI#ระบบการเรียนรู้#การศึกษา#การสอบ#การเรียนรู้#นักเรียน#นักศึกษา#เยาวชน#Education#การศึกษา#KTD#KTDTech#เทคโนโลยี#ไอที#นวัตกรรม#ข่าวสาร#ข่าวสารไอที#เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย#Katanyudemy#กตัญญูเดมี่#กตัญญู#พัฒนาการศึกษาไทยไม่อยากพลาดข่าวสารและเรื่องราวน่ารู้ด้านการศึกษาดี ๆ จากทุกมุมโลก อย่าลืมติดตาม Katanyudemy กันนะคะ
ติดต่อลงข่าวและประชาสัมพันธ์สามารถ inbox เข้ามาที่เพจได้เลยค่ะ
สนับสนุนโดย cutepress ORIENTAL PRINCESS และกตัญญู
อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมคลิก