Katanyudemy

katanyudemy

บทความน่ารู้

สาระน่ารู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน

เมื่อ นวัตกรรมทำงานแทน เด็กรุ่นใหม่ควรมีทักษะอะไรในอนาคต

ผ่านมาไม่ถึง 20 ปี มีใครเคยลองนับนิ้วดูบ้างว่ามีอาชีพอะไรที่สูญหายไปจากชีวิตประจำวันเราบ้างแล้ว?ไหนจะอีกไม่น้อยกว่า 10 วิชาชีพที่ซึ่งแรงงานมนุษย์กำลังจะสูญพันธุ์และเทคโนโลยีในอนาคตจะเข้ามาทำงานแทนจนหมด กระนั้นความน่ากังวลไม่ได้อยู่ที่เหล่าหุ่นยนต์ที่กำลังจะกรูกันเข้ามาแปะมือทำงานแทนคุณ (หรืออาจเป็นการโบกมือบ๊ายบายพร้อมใบหน้าเย้ยหยัน หากพวกมันแสดงอารมณ์ได้) แต่เป็นคำถามที่ว่าแล้วทักษะทางวิชาชีพใดล่ะที่เราควรต้องพัฒนาเพื่อให้มีงานทำอย่างยั่งยืนต่อไปในยุค 4.0 เรียนรู้ที่จะเป็นคนควบคุมโปรแกรมออกคำสั่งเครื่องมือเครื่องใช้และกระบวนการทำงานทุกอย่างในโลกอนาคตที่ใกล้เข้ามา จะถูกเคลื่อนย้ายเข้าสู่ระบบอัตโนมัติหมด ทางรอดทางวิชาชีพที่ยั่งยืนที่สุดคือการเป็นคนควบคุมโปรแกรมเหล่านั้นเสียเอง เรียนรู้ที่จะควบคุมโปรแกรมอัตโนมัติจะทำให้ชีวิตเราง่ายและสะดวกขึ้น เพราะฉันคิดว่าการก้าวไปข้างหน้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 บทบาทของแรงงานคนจะลดลงไป และหุ่นยนต์จะเข้ามาอำนวยความสะดวกเกือบหมด เช่นนั้นแล้วเราจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีให้เป็น ก้าวนำหรือก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ รู้ลึกในวิชาชีพของตัวเอง ขณะเดียวกันก็ช่ำชองในทางดิจิทัลด้วยปัจจุบันเราไม่สามารถปฏิเสธการทำงานผ่านดิจิทัลได้เลย เช่นนั้นแล้ว อย่างน้อยที่สุด แรงงานรุ่นใหม่ควรมีทักษะสำคัญสามประการ ข้อแรกคือทักษะการจัดการทั่วไป เช่น การจัดการโครงการ การประสานงาน …

เมื่อ นวัตกรรมทำงานแทน เด็กรุ่นใหม่ควรมีทักษะอะไรในอนาคต Read More »

Lifelong Learning อนาคตไม่นิ่ง ยิ่งต้องเรียนรู้

การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) สำคัญแค่ไหนในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ชวนส่องประเทศต่างๆ ทั้งสิงคโปร์ และเกาหลีใต้ กับการเรียนรู้สร้างทักษะที่จะเป็นการสร้างอนาคต โลกในศตวรรษที่ 21 ทำให้เราต้องกลับมาคิดทบทวนเรื่องการเรียนรู้กันอีกครั้ง การเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความสำคัญมากขึ้นในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราต้องตระหนักถึงการเรียนรู้ทุกรูปแบบไม่ใช่แค่หลักสูตรการศึกษาที่เป็นทางการอยู่ในรั้วโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเท่านั้น หากแต่การเรียนรู้มีหลายรูปแบบและเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมต่างๆ มากมาย ตั้งแต่หลักสูตรอย่างเป็นทางการในโรงเรียนหรือวิทยาลัย ไปจนกระทั่งการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ประเภทต่างๆ ในครอบครัว ชุมชน และที่ทำงาน การเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Lifelong Learning เป็นเสมือนของขวัญที่มีคุณค่ากับชีวิต หลายประเทศจึงให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตัวอย่างประเทศที่น่าสนใจที่เราคงได้ยินกันมาแล้วคือ สิงคโปร์ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างเข้มข้น ผ่านโครงการ …

Lifelong Learning อนาคตไม่นิ่ง ยิ่งต้องเรียนรู้ Read More »

Stem เป็น Steam แตกต่างกันอย่างไร ?

เด็กยุคใหม่จะเรียนรู้จากในตำราเรียนอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องเอา STEM มาประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ด้วยความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน ครูผู้สอนสามารถสร้างได้จากกิจกรรมในห้องเรียน เมื่อเด็กในปัจจุบันคือความหวังของประเทศชาติในอนาคต “ครู” ในฐานะแม่พิมพ์ของชาติ ต้องสอนอย่างไรให้ผู้เรียนฉลาดทั้งด้านศาสตร์วิชาและศิลปะแห่งการคิดสร้างสรรค์พร้อมในคนเดียว ปริศนาแห่งความกังวลใจของครูถูกไขด้วยกุญแจสำคัญอย่าง STEM / STEAM EDUCATION เครื่องมือสำคัญที่จะใช้กับผู้เรียนในยุคนี้ จาก STEM เป็น STEAM อะไรคือความแตกต่าง ? ความจริงแล้วตัว A มาจากคำว่า ART ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่ถูกนำมาเป็นทักษะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ผ่านการต่อยอดจาก STEM เป็น STEAM …

Stem เป็น Steam แตกต่างกันอย่างไร ? Read More »

 7 เทรนด์การเรียนรู้ยุคเทคโนโลยี

การศึกษา เป็นรากฐานที่เราต้องวางไว้ให้กับเด็ก ๆ และการศึกษาในสมัยนี้ก็มีหน้าตาต่างไปจากเมื่อก่อน ยิ่งทุกวันนี้โลกเราเปลี่ยนไปวันต่อวัน การให้การศึกษา ออกแบบห้องเรียน และการจัดการเรียนการสอนจึงไม่อาจเป็นรูปแบบแบบเดิม ๆ ได้อีกต่อไป เมื่อโลกเทคโนโลยีกำลังมา ทักษะแบบเดิม ๆ ที่เคยอยู่ในหลักสูตรอาจไม่เพียงพออีกต่อไป ภาษาที่สองที่สามอาจไม่ใช่ภาษาเพื่อสื่อสารระหว่างบุคคล แต่เป็นภาษาและวิธีคิดที่มนุษย์จะมีปฏิสัมพันธ์กับระบบ กับคอมพิวเตอร์ ด้วยพลังของเทคโนโลยีอย่าง 3D printing อาจทำให้เด็ก ๆ ต้องเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้จากการเป็นเพียงผู้รับความรู้ไปเป็นผู้สร้างสรรค์ เมื่อห้องเรียนสี่เหลี่ยม ๆ เด็กนั่งเป็นแถวอาจไม่ใช่รูปแบบการศึกษาที่เข้ากับศตวรรษใหม่อีกต่อไป The MATTER ชวนมาดู 7 …

 7 เทรนด์การเรียนรู้ยุคเทคโนโลยี Read More »

ระบบการศึกษา

ยังมีความท้าทายอีกมากในระบบการศึกษาไทย

#KTDMore ยังมีความท้าทายอีกมากในระบบการศึกษาไทย งบประมาณการศึกษาที่เพิ่มขึ้นแต่ผลการศึกษาไทยกลับสวนทางรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาของประเทศไทยอย่างมากเห็นได้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีกระทรวงศึกษาธิการได้รับการจัดสรรสูงสุดในงบประมาณแผ่นดินอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 10 ปี ยิ่งในด้านของ STEAM ที่เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการระหว่าง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ศิลปะ และคณิตศาสตร์แต่ในปีพ.ศ. 2561 ผลคะแนน PISA (Program for International Student Assesment) ของไทยไม่ติด 1 ใน 50 จาก 79 ประเทศทั่วโลกที่เข้าร่วมการประเมินโปรแกรมนี้ แล้วปัญหาของการศึกษาไทยอยู่ตรงจุดไหนกันแน่ ?แหล่งความรู้ที่มีคุณภาพกับจำนวนนักเรียนที่เริ่มลดลงเพราะการเรียนรู้ที่ไม่ตอบโจทย์ …

ยังมีความท้าทายอีกมากในระบบการศึกษาไทย Read More »

แนวโน้มการศึกษา

อีก 9 ปี ข้างหน้า แนวโน้มการศึกษาจะเป็นอย่างไร ?

#KTDMore อีก 9 ปี ข้างหน้า แนวโน้มการศึกษาจะเป็นอย่างไร ? สำหรับการศึกษามีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเราจะเห็นได้จากการศึกษาสมัยก่อนมาสู่ยุคปัจจุบัน ระบบการเรียนรู้ เทคโนโลยีเข้ามาส่วนช่วยส่งเสริมระบบการศึกษาเป็รอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อเกิดวิกฤติโรคระบาด โควิด 19 ทำให้ระบบการศึกษาไทย โรงเรียน บุคคลากรทางการศึกษาต้องปรับตัวขนาดใหญ่เพื่อรับมือกับการเรียนรูปแบบใหม่ นั่นคือการเรียนออนไลน์ บทความนี้เราจะพาไปส่องการศึกษาในอีก 9 ปีข้างหน้า ว่าจะมีแนวโน้มไปในทิศทางไหน โดยอ้างอิงจาก งานวิจัยของ HolonIQ แพลตฟอร์มข้อมูลเทรนด์และงานวิจัยทางการศึกษาระดับโลก เผย 5 ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในโลกแห่งการศึกษาในยุค 2030 ซึ่งได้วิเคราะห์มาจากการใช้ …

อีก 9 ปี ข้างหน้า แนวโน้มการศึกษาจะเป็นอย่างไร ? Read More »

Learning Box

Learning Box นวัตกรรมการศึกษา “สร้างการเรียนรู้ต่อเนื่อง”

#KTDMore Learning Box นวัตกรรมการศึกษา “สร้างการเรียนรู้ต่อเนื่อง”  Starfish Education มอบกล่องการเรียนรู้ Learning Box 330 กล่องให้กับโรงเรียนนำร่อง 11 แห่ง สังกัด “อปท.” สนับสนุนด้านการจัด “การศึกษา” สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ เสริมสมรรถนะของผู้เรียนใน “ศตวรรษที่21″  Starfish Education นำโดย ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร CEO Starfish Education และทีมผู้บริหาร …

Learning Box นวัตกรรมการศึกษา “สร้างการเรียนรู้ต่อเนื่อง” Read More »

การเรียน

เจาะลึกการเรียนระดับอุดมศึกษา

#KTDMore “เจาะลึกการเรียนระดับอุดมศึกษา”  1. ระดับเตรียมอุดมศึกษา เป็นขั้นตอนการเตรียมพร้อมไปสู่รั้วมหาวิทยาลัย ในแต่ละประเทศมีระดับเตรียมอุดมศึกษาไม่เท่ากัน บางประเทศนั้นรวมไว้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย บางประเทศเมื่อสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว จะต้องเข้าเรียนในระดับเตรียมอุดมศึกษาก่อน ในประเทศไทยยกเลิกระดับเตรียมอุดมศึกษาแล้วเปลี่ยนเป็นมัธยมศึกษาตอนปลายมาอย่างยาวนาน ระดับนี้เป็นการเตรียมพร้อมเรียนในวิชาที่จำเป็นต่อการเรียนระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาต่าง ๆ ก่อนเข้าไปสู่รั้วมหาวิทยาลัย บางประเทศจะให้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพก่อนที่จะเข้าเรียนจริงเพื่อให้ผู้เรียนได้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องเจอเพื่อลดอัตราการลาออก 2. ระดับปริญญาตรีหรือปริญญาบัณฑิต ระดับนี้เป็นระดับที่เรียนทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาในระดับเตรียมอุดมศึกษา โดยปกติจะเรียนในปีแรกของแต่ละหลักสูตร แต่สอดแทรกเนื้อหาระดับปริญญาตรีเข้าไปมากขึ้นในแต่ละชั้นปี โดยเน้นวิชาพื้นฐานไปจนถึงวิชาระดับกลางและระดับสูง โดยหลายวิชานั้นมีเงื่อนไขว่าต้องเรียนและสอบผ่านวิชาใดวิชาหนึ่งก่อนที่จะสามารถลงเรียนวิชาต่อไปได้การเรียนมีอิสระในการเลือกเรียนมากกว่าระดับเตรียมอุดมศึกษา แม้เนื้อหาวิชาจะชื่อคล้ายพื้นฐานที่เคยเรียนมา แต่จะมีความลุ่มลึกมากกว่า เช่น แคลคูลัส ที่จะเรียนเป็นส่วนหนึ่งของวิชาคณิตศาสตร์ในระดับเตรียมอุดมศึกษา แต่เมื่อเข้ามาศึกษาระดับปริญญาตรีจะต้องเรียนแคลคูลัสถึง 3 รายวิชาการเรียนระดับปริญญาตรีจำเป็นในหลายวิชาชีพ เป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ต้องมี ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ …

เจาะลึกการเรียนระดับอุดมศึกษา Read More »

กาแฟ

เคยสงสัยไหม ว่าทำไมเด็กจึงไม่ควรดื่มกาแฟ

#KatanyuTricks ถ้าถามเด็ก ๆ ว่าทำไมถึงอยากดื่มกาแฟ คำตอบ คือ ก็เพราะอยากรู้รสชาติกาแฟว่าทำไมผู้ใหญ่ชอบดื่มกันทุกวัน ดื่มกาแฟแล้วจะได้ไม่ง่วง อ่านหนังสือต่อนาน ๆ ได้ เป็นต้น แถมในปัจจุบันกาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก มีคาเฟ่ร้านหน้านั่งต่าง ๆ มากมายให้ลิ้มรสชาติกาแฟ แต่ถ้าน้อง ๆ คนไหนที่ได้ลองดื่มและคิดว่ารสชาติขม ไม่ชอบ ไม่อยากดื่มแล้ว ก็จะดีเลยล่ะค่ะ กาแฟ คือ อะไร กาแฟมีส่วนประกอบของสารคาเฟอีน มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวและลดความง่วงได้ นอกจากนี้เครื่องดื่มหลายชนิดก็มีสารคาเฟอีนเป็นส่วนผสม เช่น น้ำชา …

เคยสงสัยไหม ว่าทำไมเด็กจึงไม่ควรดื่มกาแฟ Read More »

เด็ก

“การกินยาสำหรับเด็ก” เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ที่ตัวเล็กผู้ใหญ่ “ไม่ควรแบ่งครึ่งยาเม็ด” ให้เด็กกินเองเด็ดขาด

#KatanyuMore ผู้ใหญ่หลายคนคิดว่าเราสามารถแบ่งยาครึ่งเม็ดของเราเองให้กับเด็กได้ เพราะเข้าใจว่ายาครึ่งเม็ดก็มีฤทธิ์ยาที่อ่อนตัวลงแล้ว ทั้งที่จริงความเข้าใจนี้ไม่ถูกต้องอย่างมหันต์ จนบางคนเกิดคำถามว่าทำไมไม่ควรแบ่งครึ่งยาเม็ดให้เด็กกิน ด้วยความห่วงใยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงได้ออกมาอธิบายเกี่ยวกับเหตุผล รวมถึงแนะนำความสามารถที่จะแบ่งยาให้เด็กได้ซึ่งต้องมาจากแพทย์ หรือเภสัชกรสั่งจ่าย และระบุว่าสามารถแบ่งครึ่งได้เท่านั้น .ทำไมไม่ควรแบ่งครึ่งยาเม็ดให้เด็กกิน หลายคนเข้าใจว่าเราสามารถแบ่งยาครึ่งเม็ดของผู้ใหญ่ครึ่งให้กับเด็กได้ ซึ่งอันที่จริงแล้วเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง โดยเหตุผลสำคัญเนื่องจากระบบอวัยวะภายในของเด็กยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์เท่าผู้ใหญ่ การตอบสนองต่อยาของเด็กกับผู้ใหญ่มีความแตกต่างกัน ทำให้การดูดซึมและการขับยาออกแตกต่างกันหากเด็กได้รับยาปริมาณเกินมาเพียงนิดเดียวจะทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ และปริมาณยาอาจเกินระดับที่ทำให้เกิดพิษได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ยาบางชนิดยังมีผลต่อการพัฒนาการของเด็ก และรบกวนการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายต่อเด็กได้. ทั้งนี้ ปริมาณยาที่ใช้กับเด็ก โดยส่วนมากต้องผ่านการคำนวณขนาดยาจากอายุหรือน้ำหนักโดยแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง และต้องใช้ยาสำหรับเด็กจึงจะเหมาะสมที่สุด.การแบ่งยาครึ่งเม็ดจะสามารถทำได้เมื่อใด การแบ่งครึ่งเม็ดยาผู้ใหญ่เพื่อใช้บรรเทาหรือรักษาในเด็ก จะทำได้เมื่อยาสำหรับเด็กหมดหรือไม่สามารถหายาได้ในเวลานั้น ซึ่งต้องเป็นยาที่แพทย์หรือเภสัชกรสั่งจ่ายและระบุว่าสามารถแบ่งครึ่งได้เท่านั้น ห้ามซื้อยามาแบ่งให้เด็กรับประทานเองโดยเด็ดขาดเพราะไม่ใช่ยาทุกชนิดที่สามารถนำมาแบ่งเม็ดยาได้ .ยาบางตัวเป็นยาที่มีการปลดปล่อยตัวยาสำคัญแบบพิเศษ ซึ่งการทำลายเม็ดยาโดยการบด ป่น หรือแบ่งครึ่งจะทำให้การปลดปล่อยตัวยาสำคัญลดประสิทธิภาพไป จึงไม่ได้ผลการรักษาเท่าที่ควร. ดังนั้น ก่อนจะให้ยาแก่เด็กควรพึงระลึกไว้เสมอว่า …

“การกินยาสำหรับเด็ก” เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ที่ตัวเล็กผู้ใหญ่ “ไม่ควรแบ่งครึ่งยาเม็ด” ให้เด็กกินเองเด็ดขาด Read More »