#KTDChina
จีนเป็นโลกคู่ขนานของซิลิคอนวัลเลย์ และในอนาคตน่าจะแซงหน้าได้ แต่ปัจจุบันต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรม venture capital (VC) ของจีนยังมีอายุเพียง 15 ปี ยังไม่แกร่งกล้าเท่ากับในโลกตะวันตก ช่องว่างทางนวัตกรรมนี้สามารถใช้เงินเพื่ออุดได้ และโชคดีว่าจีนมีเงินลงทุนมหาศาลจากบรรดา VC เข้ามาสนับสนุน
อุตสาหกรรมไอทีจีน โชคดีที่ได้คนจีนที่ย้ายกลับมาจากสหรัฐในช่วงฟองสบู่ดอทคอมบูมปี 2001 ซึ่งตัวเธอเองก็เป็นหนึ่งในนั้น บวกกับการผ่อนคลายการกำกับดูแลของรัฐบาลจีนในหลายๆ เรื่อง เปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจจีนได้ลองผิดลองถูกกันมาก ตัวอย่างคือ ทางการจีนเพิ่งเริ่มกำกับดูแลฟินเทคเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งบริษัทอย่าง Alipay กวาดฐานผู้ใช้ไปยากแล้ว
ส่วนประเด็นว่าธุรกิจจีนจะออกไปนอกจีนได้มากน้อยแค่ไหน เธอมองว่าบริษัทฝรั่งจากโลกตะวันตกเข้ามาบุกจีนยาก เพราะมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมสูง ซึ่งบริษัทจีนที่จะออกต่างประเทศก็ต้องเจอปัญหาเดียวกัน แต่ถ้าพยายามก็จะพอปิดช่องโหว่ได้ เช่น มีซีอีโอของบริษัทจีนบางราย ย้ายไปอยู่ที่อินโดนีเซียอยู่ช่วงหนึ่งเพื่อให้เข้าใจตลาดท้องถิ่น หรืออย่างกรณี Alibaba ซื้อ Lazada ส่วนหนึ่งก็เป็นการใช้เงินลงทุนเพื่อให้เข้าใจตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในทางกลับกัน สำหรับบริษัทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะไปลงทุนในจีน เธอบอกว่าจะต้องเจอกับกำแพงภาษา วัฒนธรรม กฎหมาย และประเด็นเรื่องละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งสำคัญคือต้องมีพาร์ทเนอร์เป็นคนท้องถิ่นที่เข้าใจตลาดจีน ถ้าเลือกพาร์ทเนอร์ได้เหมาะสมก็จะไปได้ไกล
ในฐานะนักลงทุนในสตาร์ตอัพระดับเริ่มต้น (early investor) เธอบอกว่าความอดทนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะนักลงทุนต้องอยู่กับสตาร์ตอัพรายนั้นนานกว่า 5 ปีแน่นอน ซึ่งนานกว่าค่าเฉลี่ยของการแต่งงานในสหรัฐด้วยซ้ำ ดังนั้นต้องเลือกลงทุนในสิ่งที่เหมาะสมจริงๆ ไม่หวั่นไหวตามกระแสในแต่ละปี
การแข่งขันในจีนดุเดือดมาก ผู้อยู่รอดต้องแข็งแกร่งสุด ๆ
Tencent ในฐานะบริษัทไอทีจีนยักษ์ใหญ่ 1 ใน 3 ราย (อีกสองรายคือ Alibaba และ Baidu) มองว่าการที่พื้นที่ใดๆ ในโลกจะประสบความสำเร็จในฐานะฮับทางเทคโนโลยีได้ ต้องมีปัจจัย 3 ข้อ ได้แก่ ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ซึ่งในซิลิคอนวัลเลย์มีมหาวิทยาลัยชื่อดังของโลกหลายแห่ง, การเข้าถึงแหล่งทุน (access to capital) และโอกาสทางธุรกิจหรือขนาดของตลาด (market opportunity) ซึ่งปัจจัยหลังสุดนี่ต้องถือว่าจีนมีเยอะกว่าโลกตะวันตกด้วยซ้ำ
การแข่งขันในตลาดจีนมีสุงมาก อย่างปีที่แล้ว livestream กำลังฮิตในจีน ก็มีบริษัทแห่กันมาทำธุรกิจนี้เป็นร้อยบริษัท แน่นอนว่าเหลือรอดไม่กี่ราย แต่รายที่อยู่รอดได้จะต้องแข็งแกร่งมาก
จุดเด่นอีกข้อของจีนคือมีบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งสามราย บริษัทเหล่านี้จะเข้าไปลงทุน จับมือเป็นพันธมิตร หรือไล่ซื้อสตาร์ตอัพรายเล็กเพื่อสร้าง ecosystem ดังนั้นสตาร์ตอัพในจีนต้องเริ่มคิดตั้งแต่วันแรกว่าจะมีความสัมพันธ์กับยักษ์ใหญ่อย่างไร สตาร์ตอัพบางรายอาศัยอยู่บนแพลตฟอร์ม WeChat แต่ในอีกทางก็ต้องแข่งขันกับบริการย่อยบางตัวของ WeChat
Grace ยังเล่าถึงวัฒนธรรมองค์กรของ Tencent ว่ากระตุ้นให้พนักงานปรับปรุงผลิตภัณฑ์ตลอดเวลา ในบริษัทมีสโลแกนว่า 10/100/1000 ซึ่งแปลว่าผู้จัดการผลิตภัณฑ์ใดๆ ต้องออกไปเซอร์เวย์ความคิดเห็น 10 ครั้ง อ่านบล็อกที่พูดถึงผลิตภัณฑ์ของเรา 100 บล็อก และรวบรวมความเห็นให้ได้ 1,000 ความเห็นอยู่เสมอ
การเกิดขึ้นของ WeChat เองยังเกิดจากการแข่งขันภายในองค์กร เพราะ Tencent เคยมีแอพแชทชื่อ QQ อยู่แล้ว แต่เมื่อบริษัทมองเห็นอนาคตของโลก mobile ก็กระตุ้นให้พนักงานทีมอื่นๆ สร้าง WeChat ขึ้นมาแข่ง ซึ่งก็มีคนส่งเข้ามากันหลายทีม แต่สุดท้ายก็มีทีมที่ผลงานดีที่สุด ได้เป็นผู้สร้าง WeChat นั่นเอง
ที่มา : brandinside.asia
#KTDChina#AI#หุ่นยนต์#การศึกษา#การสอบ#การเรียนรู้#นักเรียน#นักศึกษา#เยาวชน#Education#การศึกษา#KTD#KTDTech#เทคโนโลยี#ไอที#นวัตกรรม#ข่าวสาร#ข่าวสารไอที#เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย#Katanyudemy#กตัญญูเดมี่#กตัญญู#พัฒนาการศึกษาไทย
ไม่อยากพลาดข่าวสารและเรื่องราวน่ารู้ด้านการศึกษาดี ๆ จากทุกมุมโลก อย่าลืมติดตาม Katanyudemy กันนะคะ
ติดต่อลงข่าวและประชาสัมพันธ์สามารถ inbox เข้ามาที่เพจได้เลยค่ะ
สนับสนุนโดย cutepress ORIENTAL PRINCESS และกตัญญู
อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมคลิก