Katanyudemy

katanyudemy

จีนขึ้นแท่นผู้นำ AI ของโลกล้ำหน้ากว่ายุโรปและสหรัฐฯ

🇨🇳 ยุคนี้และหลังจากนี้ AI จะถูกใช้เป็นรากฐานของการพัฒนาธุรกิจหลายแขนง โดยเฉพาะ จีน ที่ช่วงเวลานี้มีการพัฒนาทางด้าน AI ที่ล้ำหน้า เพื่อเข้าสู่ยุคแห่งการใช้เทคโนโลยีอย่างเต็มตัวในทุกภาคส่วน อีกทั้งยังแซงหน้าการพัฒนา AI ของทั้งยุโรปและสหรัฐ ซึ่งในบทความนี้จะพาไปดูกันว่า จีน ประสบความสำเร็จขนาดนี้ได้อย่างไร

🌐 ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 5 ปีก่อน สิ่งที่ทำให้จีนหันมาสนใจพัฒนาเทคโนโลยี AI เริ่มมาจากการจัดแข่งขันเกมกระดานโกะ ซึ่งผู้เข้าแข่งขัน AlphaGo ปัญญาประดิษฐ์หนึ่งเดียวในการแข่งขัน พัฒนาโดย Startup นามว่า DeepMind ซึ่งถูกเข้าซื้อโดย Google ในปี 2014 สามารถเอาชนะแชมป์เก่าทั้งสองรายของโลกได้ สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับคนในประเทศเป็นอย่างมาก ส่งผลให้เกิดการพัฒนาต่อ จนปัจจุบัน Kai-Fu Lee นักเขียนชื่อดัง เจ้าของผลงาน AI Superpowers ก็ได้นิยามช่วงเวลาแห่งการพัฒนาที่ล้ำหน้านี้ว่า ‘Sputnik Moment’ ให้กับจีน

🌐 จากการศึกษาแบบพลวัตเชิงเปรียบเทียบกับระบบนิเวศการดำเนินการทาง AI ในสหรัฐฯ จีน และยุโรป เชื่อกันว่า ระบบนิเวศการดำเนินการมักถูกกำหนดโดยสภาพแวดล้อมระดับชาติ ซึ่งก็จะมีความแตกต่างกันในแง่ของเงื่อนไขทางวิชาการ การค้า การเมือง กฎระเบียบและวัฒนธรรม

🌐 แต่หัวใจสำคัญของการพัฒนาและการก่อตัวของระบบนิเวศเทคโนโลยี ได้แก่ การตอบสนองของภาคส่วนรัฐบาล สถาบัน และองค์กรต่าง ๆ ในการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทั้งประเทศร่วมกันมองว่าเทคโนโลยีคือ ความสำคัญเชิงกลยุทธ์ โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการพัฒนาระบบนิเวศ AI สรุปออกมาได้ 3 ประการประกอบด้วย

🌐 การส่งเสริมความสามารถในท้องถิ่นเพื่อเป็นการวางรากฐานสู่ความสำเร็จ
ในประเด็นนี้มหาวิทยาลัยในจีนได้มีการดำเนินนโยบายในการก่อตั้งแผนกวิจัย AI และเพิ่มหลักสูตรระดับปริญญาตรีและปริญญาโทที่เกี่ยวข้องกับ AI จาก 64 หลักสูตรในปี 2016 เพิ่มเป็น 392 หลักสูตรในปี 2017 และเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดกว่า 14 เท่าเป็น 902 หลักสูตรในปี 2018

โดยในปี 2017 พบว่า มีการร่วมลงทุนในธุรกิจของจีนที่เกี่ยวข้องกับ AI คิดเป็น 48% ของการลงทุนทั่วโลก แซงหน้าบริษัทในสหรัฐฯเป็นครั้งแรก และในปี 2020 จีนได้มีการยื่นสิทธิบัตรด้าน AI มากกว่าทุกประเทศในโลก พร้อมทั้งมีบริษัท Startup ที่มีการใช้ AI ในประเทศพุ่งทะลุ 1,100 ราย นับเป็นอันดับสองรองจากจำนวน Startup ในสหรัฐฯ

ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดจีนได้รับการสนับสนุนระบบนิเวศทางเทคโนโลยีจากรัฐบาล รวมทั้งจากองค์กรและมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็คือแรงผลักดันที่ได้เริ่มต้นการพัฒนาเทคโนโลยี AI ที่แท้จริง

🌐 การสร้างความไว้วางใจในสังคมก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากในการใช้งานเทคโนโลยี AI
จากการสำรวจของ MIT-BCG ในปี 2020 พบว่า ผู้บริโภคในจีนมีความมั่นใจในเทคโนโลยี AI รวมทั้งมีความอดทนกับการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้มากกว่าทางด้านสหรัฐฯและยุโรป โดยระบุว่า 86% ของผู้ใช้ในจีนไว้วางใจในการตัดสินใจของระบบ AI

ในขณะที่ในสหรัฐฯมีเพียง 39% และยุโรป 45% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากทัศนคติที่แตกต่างทางด้านวัฒนธรรมและการเมืองที่มีต่อข้อมูลและความเป็นส่วนตัว

นอกจากนี้ ผู้ใช้ในจีนยังเลือกที่จะผลักดันการใช้เทคโนโลยี AI พร้อมทั้งมีอิทธิพลต่อประเภทของแอพพลิเคชั่นที่บริษัทต่างๆจะพัฒนา ในสัดส่วน 87% และ 89% ตามลำดับ ด้วยความที่ผู้ใช้และซัพพลายเออร์ต้องการข้อเสนอที่มีการขับเคลื่อนด้วย AI ทางด้านสหรัฐฯ พบว่ามีสัดส่วน 61% และ 72% ตามลำดับ และยุโรปมีสัดส่วน 63% และ 69%

🌐 การสร้างระบบ AI ในจีนแตกต่างจากภูมิภาคอื่นด้วยเหตุผลสำคัญหลายด้าน
รัฐบาลจีนได้สนับสนุนให้ยักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัลของจีนสร้างห้องสมุด AI, AI Platform และ AI Framework ที่จะกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือกับผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมมากขึ้น และยังทำให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึง AI ในต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งจะทำให้ระบบนิเวศของทุกธุรกิจสามารถพัฒนาชุดส่วนประกอบในสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน และเพื่อให้มั่นใจว่ายักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัลได้รับส่วนแบ่งของมูลค่าจาก AI ได้มากขึ้น

ซึ่งแตกต่างกับวิธีการของบริษัทในแถบฝั่งตะวันตก ที่มองว่าแหล่งข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้มีไว้สำหรับการวิจัยในขั้นต้น แต่ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจ ซึ่งหมายความว่ามันถูกออกแบบมาเพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้จำนวนมากขึ้น โดยทำให้เข้าถึงผู้ใช้ที่ไม่ได้ผ่านการรับรองเหมือนอย่างผู้เชี่ยวชาญหรือบุคคลจาก Silicon Valley เข้าถึงได้มากขึ้น กล่าวคือ ในจีนมีข้อจำกัดในการให้ผู้ใช้ได้ใช้บริการแบบ Freemium

เช่นใน Paddle-paddle ของ Baidu, PAI ของ Alibaba และ TI ของ Tencent คือ ไม่ได้มีการแจกเครื่องมือ AI เหมือนอย่างสหรัฐฯ แต่จะเป็นการใช้ในทางธุรกิจมากกว่า ด้วยเหตุนี้ บริษัทจีนเกือบหนึ่งในสามจึงได้ประกาศถึงผลประโยชน์ทางธุรกิจที่มาจาก AI ในขณะที่สหรัฐฯมีเพียงแค่ 13% ตามการศึกษาของ BCG-MIT ครั้งล่าสุด

🌐 อย่างไรก็ตามเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติ รัฐบาลจีนได้คัดเลือกบริษัทที่จะเป็นผู้นำแห่งเทคโนโลยี AI ในแต่ละด้าน โดยเลือกบริษัทเทคโนโลยีของจีนให้เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมคอมพิวเตอร์ ดังนี้

Tencent สำหรับภาพทางการแพทย์
Baidu สำหรับการขับขี่อัตโนมัติ
Alibaba สำหรับ Smart City
Sense Time สำหรับนวัตกรรมการจดจำใบหน้า
iFlytek สำหรับความฉลาดทางเสียง

🌐 ในปี 2019 รัฐบาลจีนได้สร้าง ‘หน่วย AI เฉพาะกิจ’ ภายใต้การดำเนินงานของ 15 บริษัท โดยขอความร่วมมือกับผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมในด้านข้อมูล อัลกอริทึม โมเดล การวิจัยเชิงทฤษฎี และแอพพลิเคชั่น เพื่อเพิ่มจำนวนผู้นำ AI ในด้านต่างๆ พร้อมทั้งรักษาการดำเนินการของผู้นำในแต่ละส่วน และเพื่อสร้างผลกระทบโดยเป็นแรงกระตุ้นในเชิงบวก จึงเห็นได้ว่า บริษัท AI ในจีนกำลังเตรียมระบบนิเวศร่วมกับผู้บุกเบิกอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในอนาคต พร้อมสำหรับข้อมูลใหม่ๆ และยังได้ผลตอบแทนเป็นการเข้าถึงระบบ AI ได้มากขึ้นในทุกๆ ภาคส่วน

🇨🇳 ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้จะเห็นได้ว่า ยักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัลและ Startup ในสหรัฐฯกำลังกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ปรับใช้เทคโนโลยี AI ได้ไม่เร็วพอ ในขณะที่ผู้บุกเบิกในยุโรปกำลังสร้างตัวเองใหม่เพื่อเดินหน้าขับเคลื่อน AI โดยสร้างระบบนิเวศร่วมกับพันธมิตรดิจิทัลเพื่อสร้างระบบการแบ่งแยกด้วย AI และพันธมิตรใหม่ๆที่โดดเด่น ซึ่งพบว่ามีเพียงประเทศจีนเท่านั้นที่ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาครัฐ โดยมีการจัดการระบบนิเวศ AI และทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ริเริ่มเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

📌 ที่มา : techsauce.co

#KTDChina#China#AI#ระบบการเรียนรู้#การศึกษา#การสอบ#การเรียนรู้#นักเรียน#นักศึกษา#เยาวชน#Education#การศึกษา#KTD#KTDTech#เทคโนโลยี#ไอที#นวัตกรรม#ข่าวสาร#ข่าวสารไอที#เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย#Katanyudemy#กตัญญูเดมี่#กตัญญู#พัฒนาการศึกษาไทย

📣 ไม่อยากพลาดข่าวสารและเรื่องราวน่ารู้ด้านการศึกษาดี ๆ จากทุกมุมโลก อย่าลืมติดตาม Katanyudemy กันนะคะ

☎ ติดต่อลงข่าวและประชาสัมพันธ์สามารถ inbox เข้ามาที่เพจได้เลยค่ะ

🙏 สนับสนุนโดย cutepress ORIENTAL PRINCESS และกตัญญู www.katanyu77.com

อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมคลิก